“เราพร้อมหรือยัง?” สำหรับการเป็นผู้บริหาร


ปีนี้เป็นฤดูกาลของการสอบคัดเลือกผู้บริหารทุกระดับ ผมก็ขอแสดงทัศนะให้ทุกท่านที่จะขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้สดับกันครับ
คนที่จะเป็นผู้บริหารต้องถามตัวเองดังๆ ว่า “เราพร้อมหรือยัง?” ดังต่อไปนี้
1.พร้อมด้วยใจที่แข็งแกร่งและกว้างขวาง
2.พร้อมด้วยคุณวุฒิและวุฒิภาวะ
3.พร้อมด้วยภาวะผู้นำ
4.พร้อมด้วยฐานะ
5.ครอบครัวพร้อม
6.พร้อมด้วยคุณธรรม
หรือเรียกว่า”ภูมิรู้ ภูมิฐาน ภูมิธรรม” นั่นเอง หากพร้อม 6 ประการนี้ก็เป็นผู้บริหารได้ แค่มี 3 ข้อ จาก 6 ข้อนี้ก็ “เป็นได้” แต่จะ “เป็นได้ดี” หรือไม่ คำตอบนี้ผู้ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกและประเมินเข้าสู่ตำแหน่งเท่านั้นที่จะตอบได้
“ยิ่งสูงยิ่งหนาว แต่บนที่สูงนั้นไม่ได้มีเฉพาะความหนาวแต่มีความสวยงามด้วย คนที่ไม่มีความสามารถและไม่มีความพยายามที่จะขึ้นมา ก็ไม่มีวันได้สัมผัสความสวยงามนั้นเลย”

49629751_224796361735363_3400594718009065472_n

Advertisement

บทความ เรื่อง การกำหนดเวลาการวัดผลใน Google Form ด้วย formLimiter


สวัสดีครับหลังจากที่เราได้เข้าใจการวัดผลแบบง่ายด้วย Flubaroo ใน Google Apps ไปแล้วนะครับ คุณครูที่ใช้ Google Form ในการทำแบบทดสอบหรือการทำแบบสอบถามเราสามารถกำหนดเวลาในการทำแบบสอบของนักเรียนได้ เราไปดูกันเลยครับว่าทำอย่างไร

1. สร้างแบบฟอร์มแบบทดสอบ

10

2. ไปที่เมนู ส่วนเสริม แล้วเลือก ดาวน์โหลดส่วนเสริม หรือ Add on ดังรูป

1

3. แล้วพิมพ์ formLimiter ลงในช่องค้นหา แล้วกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด แล้วเลือก ฟรี หรือ เชื่อมต่อ ดังรูป

3

Read the rest of this entry

บทความ เรื่อง การสร้างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ด้วย g(Math) ฟอร์ม


Getting started with SketchUp.


ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ


2557260-school487-Activities_pic00183995ni12

Google Opens Classroom เครื่องมือการจัดการเรียนรู้สำหรับครู


Teachers stated: Money is not the key motivator to create online video lessons


theLearnia’s survey: Money is not the first motivator for teachers to create online content. It comes after the desire to contribute their knowledge to the community. What are teachers’ preferences for e-learning?

 

The e-learning industry demands a significant amount of our time. More and more, teachers report an increase in technology usage in the classroom. But, at the end of the day, it takes time to create quality video lessons that students can use them outside of class and share them with their classmates.

The team of theLearnia, a free educational social network, tried to figure out what will cause teachers to upload more video lessons and share them with their students. Which platform do they prefer, and how much time are teachers willing to invest to create  high-quality content? Results are surprising, and we are happy to share with you what other teachers think about online education with the following statistics.

infographic
Infographic

Are video lessons efficient tools for the younger generation?

Read the rest of this entry

บทความ เรื่อง จรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา


จรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา 9 ประการ

จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. ผู้บริหารสถานศึกษา  ต้องมีวินัยในตนเอง  พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ  บุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์  ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งทางกาย  วาจา  และจิตใจ
6. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
7. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8. ผู้บริหารสถานศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม
9. ผู้บริหารสถานศึกษา  พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคม  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  สิ่งแวดล้อม  รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ที่มา : http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=255&tid=3&pid=6

บทความ เรื่อง จรรยาบรรณครู


จรรยาบรรณครู 9 ประการ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อตนเอง
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบอาชีพ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

ที่มา : http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=255&tid=3&pid=6

บทความ เรื่อง “ขี้ขลาดกับหวาดกลัว”


กบในกลา

บทความนี้เขียนขึ้นเนื่องจากที่กระผมได้เข้าร่วมงานใหญ่ระดับประเทศครับ ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง คือ ความ “หวาดกลัว” นั้นเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอ มีจริตที่ไม่เข้มแข็ง กลัวผู้อื่นชนะตัวเอง ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ไม่กล้าเผชิญความจริง ใช้เส้นสายในการชิงดีชิงเด่น เพื่อประโยชน์ส่วนตน สร้างเรื่องราวให้ร้ายผู้อื่นหลากหลายวิธี ทำให้คนอื่นเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม เสียทั้งชื่อเสียงของบุคคลและองค์กร เช่น การประกวดแข่งขันต่างๆ ที่ผลการแข่งขันมีประโยชน์กับครูผู้ฝึกสอนในการยื่นขอมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น หรือการพิจารณาความดีความชอบ ทำให้สนามการประกวดแข่งขัน มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน โดยลืมจรรยาบรรณครูและความเป็นมนุษย์ “หวาดกลัว” ว่าผู้อื่นจะชนะตนเอง จนไม่เคารพในคำตัดสินของคณะกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ กลายเป็นคน “ขี้ขลาด” สร้างเรื่องราวลงใน “บัตรสนเท่ห์” กล่าวหาว่าคนอื่นลอกผลงานตนเอง เป็นสิ่งที่น่าอับอายมาก ไม่กล้าที่จะใช้ชื่อจริง นามสกุลจริง พยายามยื่นดาบให้ผู้อื่นเป็นฆาตกรทำร้ายมิตรภาพที่ดี แล้วผู้ที่รับดาบไว้ไม่ได้รู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร ฟังความเพียงข้างเดียวเนื่องจากหลงในอวิชชา และผู้ที่ยื่นดาบให้นั้นเป็นคน “ขี้ขลาด” ตาขาว ไม่มีใจนักเลง บางครั้งใช้ Social Media ประเภท Facebook , Twitter ให้ร้ายผู้อื่น นี่แหละครับสังคมไทย หากข้าราชการครูคิดกันได้เพียงเท่านี้มากกว่าการส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่เป็นวิทยาทาน เพื่อการพัฒนาการศึกษาต่อยอดความคิดมากกว่าการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน บิดเบือนข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่อีกฝ่ายที่ถูกใส่ร้ายมิได้ตอบโต้ เช่นเดี่ยวกับองคุลีมาร ที่ต้องการลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า เพราะความเชื่อในอวิชชา วิ่งไล่กวดพระองค์แล้วตะโกนว่า “หยุดนะ” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว  แต่เจ้าสิยังไม่หยุด” นั่นหมายถึง ความหลงเชื่อที่ผิดในอวิชชา ทำให้โง่เขลาเบาปัญญา และเกิดความ “หวาดกลัว” ทำให้เป็นคน “ขี้ขลาด” เหมือนกบในกะลา ไม่ยอมรับความจริง ทำให้ความจริงกลับมาทำร้ายตนเองในภายหลังได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แพ้ภ้ยตนเอง” คนประเภทนี้ในอนาคตจะเป็นใหญ่เป็นโตไม่ได้ ดังนั้น จึงขอเตือนผู้ใหญ่ที่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม จะเป็นการสร้างนิสัยอิจฉาริษยา ซึมซับไปสู่นักเรียน หรือผู้ใกล้ชิดได้ “ตัวอย่างที่ไม่ดีในสังคมย่อมสร้างค่านิยมที่ให้โทษ” จงหันกลับมาส่องกระจกดูตัวเองก่อนเถิด ตั้งแต่หัวจรดเท้า ว่าตนเองมีตรงไหนที่บกพร่องบ้าง และเคยบกพร่องหรือไม่? เคยให้อภัยตนเอง ก็จงให้อภัยผู้อื่นด้วย จงมองทุกสิ่งเหมือนเหรียญที่ไม่ได้มีเพียงสองด้าน แต่มีขอบเหรียญด้วย จงพิจารณาให้แยบคาย แล้วจะเข้าใจโลกอย่างแท้จริง เช่นนี้แล้วเป็นครูจะสอนเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีสุขได้อย่างไร? หากใจครูคิดไม่ดี ไม่เก่ง และไม่สุข “ผู้ที่มีเกียรติ คือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น” “วาสนามีไว้ให้แก้ไข ไม่ได้มีไว้แข่งขัน” อนิจจัง

บทความ เรื่อง หลักปฏิบัติในการที่จะรับ “บัตรสนเท่ห์” ไว้พิจารณา ตามมติคณะรัฐมนตรี


บทความ เรื่อง การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา


tcfct_conflict_management-300x300
ภาพจากอินเทอร์เน็ต

ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อบุคคลมีเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน และความแตกต่างเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้งต่อมาภายหลัง  ความขัดแย้งในสังคมมีตั้งแต่หน่วยเล็กคือครอบครัว หน่วยงาน ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับระหว่างประเทศความขัดแย้งในสังคมหรือองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีในสังคมและองค์กรที่บริหารงานในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งในด้านความคิดก่อให้เกิดความเจริญกับองค์กรและประเทศชาติอย่างมาก ความขัดแย้งเมื่อถึงจุดสรุปก็จะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ให้กับองค์กรได้อย่างเหลือเชื่อ ความขัดแย้งในสถานศึกษาก็เช่นกัน ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจกับสาเหตุของความขัดแย้งพอสังเขปได้  6  ประการ ดังนี้
1.  ความไม่พอเพียงของทรัพยากรทางการศึกษา  ทำให้เกิดการแข่งขัน  แย่งชิง  เพื่อให้ตนเองสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  จนบางครั้งละเลยความรู้สึกและความสัมพันธ์ของทีมงานและเพื่อนร่วมงาน
2.  ลักษณะของงานที่ต้องพึ่งพากัน  ถ้าหน่วยงานหรือบุคคลกลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความขัดแย้งก็จะมีความแปรผันและรุนแรงมากขึ้น
3.  การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน  การสื่อสารที่ดีจะต้องยึดหลัก  “4Cs”  คือ
–  Correct  เนื้อหาต้องถูกต้อง  เป็นจริง ไม่ปิดบังซ่อนเร้น
–  Clear  ต้องมีความชัดเจน ผู้รับข้อมูลจะต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลต้องการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
–  Concise  ข้อมูลต้องกระชับ  ไม่เยิ่นเย้อ  เน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร
–  Complete  เนื้อหาจะต้องมีความสมบูรณ์  ไม่ตกหล่นสาระที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารในครั้งนั้น ๆ
4.  ความคลุมเครือในเรื่องขอบเขตของงานในแต่ละด้านและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง  ได้แก่  ความไม่ชัดเจนในเรื่องการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน  ความไม่ชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน และความซ้ำซ้อนของการมอบหมายงานของผู้บริหารสถานศึกษา
5.  คุณลักษณะของแต่ละบุคคล  เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความคิด  ความคาดหวัง  ความเชื่อ  ค่านิยม  ประเพณี  การอบรมเลี้ยงดู  การศึกษา  ประสบการณ์  ความฝังใจ  ที่แตกต่างกัน
6.  บทบาทและหน้าที่  เนื่องจากแต่ละท่านได้รับบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปในสถานการณ์นั้น ๆ นอกจากนี้  ภารกิจและเป้าหมายที่ได้รับก็แตกต่างกันไป  ดังนั้น  แนวคิด หลักคิดและบทบาทของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน  จึงเป็นเหตุของความขัดแย้งได้อย่างเป็นอย่างดี
ผู้บริหารต้องมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การเจรจา การกระจายความเป็นธรรม และการใช้อำนาจ และวิธีจัดการกับความขัดแย้งสามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือสไตล์ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการร่วมมือกัน (Collaboration)  ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับแก้ไขความขัดแย้งเพราะทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันคิด เป็นวิธีการที่รักษาความสัมพันธ์และความเป็นมิตรระหว่างสองฝ่ายไว้ได้โดยไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าฝ่ายหนึ่งชนะอีกฝ่ายหนึ่งแพ้ ผลการแก้ไขความขัดแย้งจะออกมาในลักษณะ Win – Win เหตุการณ์ที่ขัดแย้งจะได้รับการแก้ไขโดยยึดหลักผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งในการแก้ไขทั้งสองฝ่ายจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเชื่อถือได้ มุ่งแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ วิธีการนี้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเป็นรากฐานการเจรจาต่อรองการใช้กลยุทธ์ในการให้ความร่วมมือจะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการจัดการความขัดแย้งที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีความพอใจในผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหา และทั้งสองฝ่ายต่างให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ซึ่งค่อนข้างเป็นกลยุทธ์ที่เป็นอุดมคติ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเห็นว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะทำให้เกิดการชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้แต่ละฝ่ายจะต้องรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งที่ไม่รุนแรง แต่การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้จะมีการใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ทักษะด้านการบริหารสถานศึกษาขั้นสูง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวให้ภารกิจของสถานศึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป

อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=486613

บทความ เรื่อง กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน


AEC
ภาพจากอินเทอร์เน็ต

การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประชาคมอาเซียน สามารถเพิ่มอำนาจต่อรองกับประชาคมอื่นๆ ในโลกมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้สถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้ ดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ
1. พัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียน มีการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ให้สะอาด ร่มรื่น สวยงามปลอดภัย มีกิจกรรมด้านการจัดสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และเป็นองค์กรพร้อมให้บริการ
2. สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สถานศึกษาต้องเป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการด้านเอกสาร การติดต่อสื่อสาร การตรวจสอบ และรายงานผลข้อมูลระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานภายในสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
3. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอน โดยดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ได้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีคุณภาพ ใช้ในการจัดการศึกษา ส่งผลต่อครูและนักเรียน

กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้
1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT หมายถึง การบริการการใช้ข้อมูล การศึกษาค้นคว้า จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การสืบค้นข้อมูล การจัดทำข้อมูล การสร้างแหล่งเรียนรู้จากอินเตอร์เน็ต โดยเน้นการใช้ e-Learning ซึ่งเป็นกระบวนการและการใช้ประโยชน์จากการเรียน การสอนผ่านเว็บคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เสมือนห้องเรียน และการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือดิจิตอลต่างๆ รวมถึงการเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบอินทราเน็ต ระบบเครือข่าย การเรียนด้วยระบบเสียง ระบบภาพ ระบบดาวเทียม ระบบโทรทัศน์ และซีดีรอม
2. พัฒนากระบวนการคิด โดยการพัฒนาครูให้มีทักษะกระบวนการคิด เป็นการสร้างเสริมให้เกิด การปฏิบัติงานที่เป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีคุณภาพเกิดผลดีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ผู้เรียน มีทักษะ กระบวนการคิด ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
3. พัฒนาการอ่าน การเขียน  สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้  การอ่านคล่อง เขียนคล่องและการอ่านเป็น เขียนเป็น ซึ่งผู้บริหาร ครูผู้สอนทุกคนของโรงเรียน ร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน จัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่าน รวมทั้งการแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง  ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง จนผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การอ่านเป็น เขียนเป็น ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นภาษาที่สอง และส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียนอย่างน้อยอีกหนึ่งภาษา
4. ห้องเรียนคุณภาพ สถานศึกษาต้องขับเคลื่อนการบริหารและการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School  Base Management : SBM)  ตามแนวทางโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจประกอบด้วย  5  ด้าน คือ ด้านการนำการเปลี่ยนแปลง ด้านหลักสูตร  ด้านการวิจัยในชั้นเรียนและการวางแผนพัฒนาตนเอง ( ID Plan ) ด้านการใช้  ICT ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และด้านการส่งเสริมอาชีพอิสระ เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน (โรงเรียน / อาชีพ) Read the rest of this entry

บทความ เรื่อง หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษา


bonne_gouvernance_etat_droit_justiceภาพจากอินเทอร์เน็ต

การบริหารที่ดี มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลนั้นจะขาดเสียมิได้คือการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล คือ คุณธรรมของนักปกครองนักบริหารที่ดี (Good Governance) ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวิธีการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลที่เป็นกฏหมายเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้บรรลุเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมีนัยดังต่อไปนี้
1. หลักนิติธรรม ผู้บริหารจะต้องยึดหลักความถูกต้อง คือ มีการพิจารณาวินิจฉัยปัญหา การทำการตัดสินใจ (Decision Making) และสั่งการ (Command) ด้วยความถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และกฎระเบียบข้อบังคับ ระเบียบ วินัยข้าราชการ และจรรยาบรรณครู ซึ่งเป็นข้อบังคับภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน ให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของสังคม ถูกต้อง ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ และถูกต้องตรงประเด็นตามหลักวิชา และได้รับความพึงพอใจ จากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระบบงานของสถานศึกษาทั้ง 4 งาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป
2. หลักคุณธรรม ผู้บริหารจะต้องยึดหลักความเหมาะสม คือ รู้จักคิด พูด ทำ กิจการงาน และปฏิบัติงานได้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ บุคคล สังคม และสถานการณ์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักความยุติธรรม คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ และปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยความชอบธรรม บนพื้นฐานแห่งหลักธรรม หลักการ เหตุผล และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรงประเด็น และด้วยความเที่ยงธรรม คือ ไม่อคติ หรือลำเอียงด้วยความหลงรัก หลงชัง ด้วยความกลัวเกรง และด้วยความหลง ไม่รู้จริง คือขาดข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสมบูรณ์ เป็นเครื่องประกอบการวินิจฉัย ตัดสินใจ ให้ความเที่ยงธรรม
3. หลักความโปร่งใส ผู้บริหารจะต้องยึดหลักความบริสุทธิ์ คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ กระทำกิจการงาน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือ ด้วยเจตนา ความคิดอ่าน ที่บริสุทธิ์ โปร่งใส ใช้ระบบาสารสนเทศสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยใช้หลักการ PDCA ในระบบงานของสถานศึกษาทั้ง 4 งาน
4. หลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารจะต้องให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดทั้งชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการจัดการศึกษาในโครงการและกิจกรรมของสถานศึกษาที่จัดขึ้นตลอดปีการศึกษา ในรูปแบบของคณะกรรมการ
5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารจะต้องให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาได้ตะหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในผลของการจัดการศึกษาที่มีผลผลิตคือตัวผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่แตกต่างกัน
6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารจะต้องใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินการกับทรัพยากรทางการศึกษาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้หลักการ PDCA เข้ามาตรวจสอบคุณภาพของระบบงานทั้ง 4 งานอย่างครบถ้วน
หากผู้บริหารสถานศึกษาได้ใช้หลัก “ธรรมาภิบาล” นี้ ในการบริหารจัดการสถานศึกษา และกระจายเป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พึงใช้ประกอบในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาแล้วนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมได้เป็นอย่างดีและยั่งยืนตลอดไป

บทความ เรื่อง หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล


MugEfficiencyEffectivenessภาพจากอินเทอร์เน็ต

ผู้บริหารโรงเรียนนั้น ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะภาวะผู้นำที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จากระบบงานของสถานศึกษาทั้ง 4 งาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการบริหารของตามแนวคิดของปราชญ์ 3 ทฤษฎี ดังต่อไปนี้

1. การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการ ของอับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นการบริหารที่มีเป้าหมายชัดเจนด้วยการเข้าถึงควรต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ล้วนแล้วแต่มีความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นลำดับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานต้องเข้าใจทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการเป็นอย่างดี โดยสมติฐานพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสถานศึกษาไว้ 3 ประการ ได้แก่
ประการที่ 1 คนมีความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด
ประการที่ 2 ความต้องการของคนจะถูกเรียงลำดับความสำคัญ
ประการที่ 3 คนที่จะก้าวไปสู่ความต้องการระดับต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำลงมาได้รับการตอบสนองอย่างดีแล้วเท่านั้น
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ลำดับ ดังนี้
ลำดับที่่ 1 ความต้องการทางกาย
ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย
ลำดับที่ 3 ความต้องการการยอมรับในสังคม
ลำดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
ลำดับที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการนั้นต้องมีการตอบสนองให้คนได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยผู้บริหารต้องมีกุศโลบายที่แนบเนียนและแยบยลพอสมควรที่จะทำให้คนได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยาภาพ เพื่อให้สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดี่เยี่ยม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ดังนี้
1.1   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการทางกาย การสนองตอบความต้องการทางกายนั้น ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานศึกษาให้น่าอยู่ สร้างบรรยาศที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น สร้างสวนย่อมในที่ที่เหมาะสม ทำสนามฟุตบอลให้น่าเล่น พัฒนาสถานที่พักผ่อนให้ผู้เรียนและครูได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน จัดสถานที่รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย จัดห้องพักครูที่มีมุมคลายเครียด มีน้ำดื่ม น้ำชา กาแฟ ไว้บริการสำหรับครูและผู้มาติดต่อราชการอย่างเพียงพอ จัดมุมความรู้ทุกที่ในโรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียนและครู ปรับปรุงห้องน้ำของผู้เรียนและครูให้เพียงพอ สะอาดถูกสุขลักษณะ จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เรียนและครู จัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเรียนรู้โลกไร้พรมแดนที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน ครู และผู้มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
1.2   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความปลอดภัย สิ่งสำคัญที่จะให้สถานศึกษาน่าอยู่คือการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้มั่นคงแข็งแรงปลอดภัยอยู่เสมอ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในสถานศึกษา จัดให้มีถึงดับเพลิงไว้หลายๆ จุด พร้อมทั้งตรวจสภาพถังดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีที่จอดรถสำหรับครู และนักเรียน ตลอดจนผู้ที่มาติดต่อราชการ ปรับปรุงบ้านพักครูให้น่าอยู่และปลอดภัย จัดให้มียามรักษาการณ์ภายสถานศึกษาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ติดต้องวงจรปิดภายในสถานศึกษาเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น สร้างรั้วรอบโรงเรียน ติดไฟส่องสว่างในเวลากลางคืนให้คุ้มค่าและปลอดภัย มีการทำประกันภัยหมู่สำหรับผู้เรียน และครูทุกคน จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับครูและนักเรียน
1.3   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการการยอมรับในสังคม จัดให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ของคณะครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เช่น กิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น เป็นต้น ส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน หรือต่างหน่วยงาน โดยการเป็นวิทยากร ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ อีกทั้งสร้างวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสถานศึกษา เช่น การเยี่ยมบ้านผู้เรียน การเยี่ยมเยียนเมื่อเจ็บป่วย การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เป็นต้น สร้างวัฒนธรรมการมีสัมมาคารวะ กาลเทศะ
1.4   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง ส่งเสริมให้ครูได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความสามารถของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ พร้อมทั้งมีเวทีสำหรับการยกย่องชมเชยความดีงานของครูและผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษสำหรับครูผู้มีผลงานที่สร้างเกียรติชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและครูผู้เสียสละทุ่มเทประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนครูและผู้เรียน
1.5   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความสำเร็จในชีวิต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนต่อระดับที่สูงขึ้นให้ครบทุกคน ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่น่าอยู่อย่างมีความสุข มีการให้ความรู้สำหรับครูก่อนวัยเกษียณ มีการแนะแนวทางการศึกษาต่อสำหรับผู้เรียน มีทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีความประพฤติดี

เมื่อสนองความต้องการให้กับคนได้อย่างครบถ้วนแล้วพวกเขาก็จะดึงศักยภาพของตนเองออกมาแสดงอย่างเต็มที่ การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นก็จะเป็นมรรคเป็นผลอย่างแท้จริงและยั่งยืนสืบไปอย่างแน่นอน แต่ผู้บริหารอย่าลืมไปว่า “ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด” Read the rest of this entry

เล่าขานตำนานแห่งกำเนิดอมตะจ้าวเวหา ‘พญาครุฑ’


ภาพจาก mat.or.th

พญาครุฑกระพือปีกโถมเข้าสู้เปลวเพลิงอันร้อนแรง ไฟนั้นแผดเผาทำเอาจ้าวเวหาผละถอย ถึงอย่างไรต้องกระโจนเข้าต่อกรอุปสรรคนานา เพื่อปลดตรวนพันธนาการแห่งคำสาปที่แม่ถูกตรึงตอกให้เป็นข้ารับใช้มารดาพญานาคไม่รู้กี่ร้อยชาติ ทั้งที่ “พญาครุฑ” และ “พญานาค” ต่างมีสายเลือดเดียวกัน แต่คำสาปนั้นยิ่งโหมไฟแค้น ถึงขั้นว่าจุดจบของเรื่องต้องเป็นอริศัตรูกันทุกชาติไป…

ด้วยความแค้นตามตำนานเริ่มตั้งแต่พญาครุฑยังมิทันลืมตาเห็นมารดา ประสาท ทองอร่าม หรือครูมืด ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย เล่าถึงบิดาของทั้งคู่เป็นฤษีชื่อ พระกัศยป มีอิทธิฤทธิ์สูงส่ง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฤษีมีหลายวรรณะ มีทั้งที่มีภรรยาได้และไม่ได้ ในรายของ พระฤษีกัศยป สามารถมีภรรยาได้ โดยภรรยาคู่หนึ่งเป็นพี่น้องกันชื่อว่า พระนางวินตา และพระนางกัทรุ

เมื่อทั้งคู่ตั้งท้องพระฤษีกัศยปได้ให้ทั้งคู่ขอพรคนละข้อ ต่างฝ่ายต่างขอให้ลูกที่จะกำเนิดมามีฤทธิ์มากกว่าอีกฝ่าย หลังจากนั้น 500 ปีผ่านไป พระนางวินตา ตกไข่ออกมาก่อน หลังจากนั้นพระนางกัทรุ ก็ตกไข่และโชคดีกว่าเมื่อลูกฟักตัวออกจากไข่ก่อน กำเนิดเป็น พญานาค พระนางวินตา เห็นดังนั้นจึงทุบไข่ตนที่ยังไม่พักตัวเต็มที่ให้แตกออกเป็น พระอรุณ ที่มีร่างส่วนบนแต่ไม่มีต้นขา ถ้ามองให้ใกล้ตัวเหมือนเด็กที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอดแต่ต้องออกมาดูโลกก่อนกำหนด

จุดเริ่มต้นคำสาปบังเกิดขึ้นเมื่อ พระอรุณ แค้นใจพระนางวินตาผู้เป็นแม่ ที่ทำให้เกิดมาไม่มีส่วนล่าง จึงสาปให้นางต้องเป็นทาสรับใช้พระนางกัทรุ มารดาของพญานาคในอีก 500 ปีถัดมา จนกว่าไข่ฟองที่ 2 ฟักตัวเป็นพญาครุฑมาช่วยแม่ให้พ้นจากคำสาป Read the rest of this entry

วัดผลแบบง่ายด้วย Flubaroo ใน Google Apps


สวัสดีครับวันนี้เรามาดูการวัดผลแบบง่ายด้วย Flubaroo ใน Google Apps นะครับ คุณครูที่ใช้ Google Form ในการทำแบบทดสอบหรือการทำแบบสอบถามเราสามารถใช้ Flubaroo ช่วยในการประมวลผลที่รวดเร็วขึ้นนะครับ

1. สร้างแบบฟอร์มแบบทดสอบ

f1

2. เลือกปลายทางการตอบกลับของฟอร์มแบบทดสอบ

f2 Read the rest of this entry

บทความ เรื่อง ปณิธานจากสามก๊ก


สวัสดีครับ Readers ทั้งหลาย วันนี้ผมได้นำแนวทางของการใช้ชีวิตสำหรับผู้ที่มีปณิธานทั้งหลายเพื่อความสำเร็จในชีวิตจากวรรณกรรม “สามก๊ก” ให้ได้อ่านกันนะครับ ซึ่งผมจะเขียนเป็น “วลี” และ “ประโยค” ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เข้าใจง่ายๆ ก็แล้วกันนะครับ

kongbengภาพจากอินเทอร์เน็ต

1. อย่าฝืนฟ้า หากเวลายังมาไม่ถึง
2. ฝืนฟ้า ย่อมไม่มีสุข
3. บุคคลที่มีลางสังหรณ์ที่ดีนั่นแหละ เป็นคุณลักษณะพิเศษที่เหนือกว่าบุคคลอื่นๆ ของผู้นำ
4. รู้อะไร ไม่สู้ รู้ใจคน (เล่าปี่)
5. ขออยู่ใกล้ผู้มีปัญญาและมีคุณธรรม อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ดีกว่าอยู่ไกล้คนประสบสอพลอ แต่ทำอะไรไม่เป็น ทำอะไรไม่ได้ (โจโฉพูดต่อหน้าหลุมศพอ้วนเสี้ยว)
6. การไม่ลืมนาย ซื่อสัตย์ต่อนาย ปฏิบัติตรงไปตรงมาไม่ว่าอยู่ต่อหน้าและลับหลัง นับว่าเป็นการปฏิบัติของลูกผู้ชายโดยแท้ ให้ทุกคนจงเอาเยี่ยงอย่าง (โจโฉยกย่องกวนอู)
7. คนที่รักพ่อแม่มากที่สุดนั่นคือความชอบของวีรบุรุษ (โจโฉ)
8. การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นเสน่ห์ของผู้นำที่ดี (โจโฉ)
9. การระแวดระวังภัยเสียจนเกินไป แต่ขาดความละเอียดอ่อนไปนิดหนึ่ง ทำลายล้างผู้บริสุทธิ์ นั่นคือจุดเสียหายของผู้นำ (โจโฉ)
10. สวรรค์ลงโทษ ฎีกาไม่ได้ อำนาจวาสนาเป็นลิขิตฟ้า
11. การเด็ดขาดอาจอยู่ในบทหนึ่งของการเป็นผู้นำ แต่การมีเมตตาและมีคุณธรรมก็เป็นอีกบทหนึ่งของการเป็นผู้นำที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี
12. อันว่าคนเรานั้นแม้นกระทั่่งพี่น้องที่คลานตามกันมา คุณยังหมดเยื่อใย คุณจะเอาเยื่อใยอาลัยอารมณ์ที่ไหนให้ใครเชยชม เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่สามารถทำการใหญ่ได้ให้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
13. ต้องคิดและวางแผนก่อนปฏิบัติล่วงหน้าเสมอ
14. ต้องรู้จักการใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
15. ต้องดูแลปฏิบัติต่อบริวารใกล้ตัวให้ดี
16. ควรมีบุคลิกที่มีความรู้ความสามารถนำมาใช้ในเรื่องงาน
17. ต้องใจถึง กล้าได้กล้าเสีย กับบริวารให้อยู่ดีมีสุข
18. ไม่ควรหวังสิ่งใดที่ไกลเกินตัว ดำเนินชีวิตโดยโน้มตามธรรมชาติ (โน้มตามฟ้า) จึงจะมีความสุข หากใช้ชีวิตที่ฝืนเกินไปมักเกิดทุกข์ หมายถึง ทุกข์ที่อยากได้ อยากมี อยากเด่น ในส่ิ่งที่ไม่เคยมี “วาสนาไม่มีอย่าฝืน” ปล่อยให้เป็นไปเองดีกว่า และสิ่งที่มีค่า คือ “การทำวันนี้ให้ดีที่สุด”
19. บุคคลจะทำการใหญ่ “ต้องได้ใจคนมาครอง” (เล่าปี่) Read the rest of this entry

บทความ เรื่อง เรียนจบแล้วมีงานทำ หรือ เรียนจบแล้วหางานทำ


สวัสดีครับนักเรียนวันนี้ครูมีประสบการณ์มาถ่ายทอดเรื่องของการเรียนต่อและการมีงานทำลองฟังดูนะครับ

การที่นักเรียนสายสามัญอย่างพวกเราๆ เรียนจบในสายวิทย์ หรือสายศิลป์ก็ตาม บางคนได้โควต้า หรือ ได้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐบ้างของเอกชนบ้าง บางคนอยากเรียนสาขาโน่นสาขานี่ เพื่อวาดอนาคตอยากเป็นอะไรที่ตัวเองชอบ แต่บางคนถูกบังคับจากผู้ปกครองว่าลูกต้องเรียนสาขานี้เพื่อที่จะประกอบอาชีพนี้นะ ซึ่งผู้ปกครองหลายคนอาจจะไม่เข้าใจความรู้สึกของนักเรียนอย่างแท้จริง นักเรียนบางคนขัดใจพ่อแม่ไม่ได้ พอจบมัธยมศึกษาตอนปลายแล้วก็เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาตามกระแสความนิยมบ้าง ตามเพื่อนบ้าง ตามความคิดของตัวเองบ้าง ตามความชอบ ตามความรักของตัวเองบ้าง ตามฮีโร่หรือไอดอลของตัวเองบ้าง หรือแม้กระทั่งตามความบัญญัติของผู้ปกครองบ้าง ล้วนแล้วแต่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเรียนในสาขาที่ตัวเองรัก (ใช้หัวใจเลือกว่าเรารักชอบในสาขานี้จริงไหม) สาขาที่ตัวเองถนัด (ใช้สมองเลือกว่าเราสามารถเรียนได้จริงไหม) สาขาที่ตัวเองจะมีเงินเรียนหรือเปล่าเพราะการเรียนคือการลงทุน บางคนเลือกผิด ครูแนะแนวผิด เพื่อนพาผิด รุ่นพี่ที่มาแนะแนวผิด หรือผู้ปกครองเลือกผิด หรืออาจเป็นเพราะสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะเป็นไปแล้วแต่ตัวแปรแทรกซ้อนก็เป็นได้

108628119รูปภาพจากอินเทอร์เน็ต

สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาผิดสาขานั้น มีดังต่อไปนี้

1. การเลือกผิดตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย เช่น เลือกสายการเรียนผิด บางคนถนัดภาษาแต่ไปเรียนตามกระแสวิทย์ บางคนถนัดวิทย์แต่เกรดไม่ค่อยดีเลยต้องเรียนศิลป์ คือไม่ประเมินความรักหรือความถนัดของตัวเองก่อน เลือกตามเพื่อนบ้าง เลือกตามผู้ปกครองหรือครูที่ปรึกษา(ผิด)บ้าง มีกรณีตัวอย่าง สมัยครูเรียนมัธยมต้นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลมีการเลือกเพื่อให้เรียนในสายวิทย์หรือสายศิลป์ในมัธยมปลาย มีครูคนหนึ่งเรียกประชุมนักเรียนที่รับสมัครในสายวิทย์และสายศิลป์ ครูที่รับสมัครในสายวิทย์ซึ่งมีนักเรียนเลือกเรียนเป็นจำนวนมากก็พูดเสียงดังขึ้นมาว่า “อ้าวนักเรียนฟังทางนี้…..ใครคิดว่าตัวเองจะเรียนสายวิทย์ไม่ไหวให้ลุกเดินออกจากห้องนี้ไปห้องสายศิลป์เลย” นักเรียนที่ขาดการแนะแนวที่ดีก็เกิดการลังเลใจจากสายวิทย์ ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเรียนได้ไหม ขาดวัยวุฒิในการตัดสินใจ ได้ฟังประโยคที่ครูเอ่ยขึ้นมา ก็ลุกเดินตามกันไปอยู่สายศิลป์ มีผลทำให้นักเรียนที่ตั้งใจเรียนหลายคน ซึ่งมีผลการเรียนดีตอนมัธยมต้นในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลายคน ขาดโอกาสที่จะได้เรียนสาขาในระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ที่จบสายวิทย์ เช่น แพทย์ศาสตร์ สถาปัตย์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

2. การเลือกผิดตั้งแต่เรียนปริญญาตรี เช่น เลือกสาขาฮิตตามกระแส เลือกสาขาง่ายๆ เลือกสาขาเปิดใหม่ มีกรณีตัวอย่างอยู่รายหนึ่งสมัยครูอยู่โรงเรียนเก่า มีครูคนหนึ่งเป็นครูสายวิทย์ สอนเด็กสายวิทย์ ก็แนะนำเด็กนักเรียนชายคนหนึ่งให้ไปเรียนสาขาวิศวกรรม บอกว่านักเรียนเป็นคนเก่งในโรงเรียน(โรงเรียนบ้านนอก) น่าจะเรียนวิศวะได้นะ พอนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายไปแล้ว เข้าไปเรียนในสาขาวิศวกรรมได้จริงๆ เรียนถึงปีที่ 3 แล้วแต่ก็ไม่ไหวต้องโดน Retry ออกจากมหาวิทยาลัย เห็นไหมครับว่า นักเรียนเชื่อครูที่แนะแนวผิด ก็เลยไปไม่ถึงฝั่งฝัน ทำให้นักเรียนเสียเวลาไปตั้ง 3 ปี ใครล่ะที่จะรับผิดชอบชีวิตนักเรียนคนนี้ ไม่ใช่ครูนะครับ พ่อแม่ต่างหากละครับที่ต้องรับผิดชอบส่งเสียให้เรียนหนังสือ  แต่ก็มาผิดหวังที่ลูกเรียนไม่จบ ต้องเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์ หากเด็กคนนี้เรียนจบภายในระยะเวลาที่กำหนด เขาจะได้ทำงานและมีเงินเดือนไปเลี้ยงตนและครอบครัวได้แล้ว แต่เขาต้องกลับเข้าไปเรียนใหม่เสียเวลาไปฟรีๆ 3 ปีเต็ม เห็นไหมครับว่าหากนักเรียนไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่รู้จักตัวเองดี คงไม่มีใครรู้จักเราดีพอเท่ากับตัวเราเองใช่ไหมครับ

3. คุณสมบัติทางกายภาพ ประการแรกคือ การขาดทุนทรัพย์ หลายสาขาวิชา หลายมหาวิทยาลัย ต้องใช้เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก หน่วยกิตหลายร้อยบาท ยิ่งมหาวิทยาลัยเอกชน หรือมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วละก็ ค่าใช้จ่ายสูงมาก หากเราคิดว่าเราไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอในการเรียนแล้ว เราควรพิจารณามหาวิทยาลัยที่จะเป็นไปได้สำหรับตัวเราเอง สำหรับฐานะทางบ้านของเรา หากเราสอบชิงทุนได้ก็จะเป็นเรื่องดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเรียนมาก แต่ต้องมีวินัยสูงเท่านั้นเอง ประการที่สองคือต่อไปคือ ขาดร่างกายที่พร้อมสำหรับการเรียนสาขานั้นๆ หากร่างกายเราหรือสุขภาพของเราไม่เอื้อต่อการเรียนในสาขาที่ไมเหมาะสมกับร่างกายและสุขภาพของเรา ก็จะทำให้การเรียนไม่ประสบความสำเร็จได้

4. ความรู้และทักษะขั้นพื้นฐาน หากตัวเราไม่สามารถ คิดคำนวณ อ่านเขียนพูด ถ่ายทอดความรู้ ทักษะปฏิบัติ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ก็ถือว่าบกพร่อง ไม่เหมาะต่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

สิ่งที่มีอิทธิพลดังกล่าว 4 ประการ ข้างต้นอาจทำให้เราสามารถครองตัวเองให้เรียนจบในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

ดังนั้นการเรียนจบแล้วทำงาน หรือ เรียนจบแล้วหางานทำ นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การที่เราได้เข้าไปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นใบเบิกทางสำหรับการมีงานทำทันทีได้ แต่หากเราเลือกศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปเราก็มีโอกาสที่จะมีงานทำทันทีได้เช่นกัน หากเรามีความโดดเด่นตอนฝึกงาน หรือมีผลการเรียนเกียรตินิยม หรือโดยการเลือกสาขาที่ขาดแคลน สาขาที่เรียนจบยาก มีคนเรียนน้อย เพราะจบยากนั่นเอง ตลาดก็จะต้องการคนที่จบสาขานี้เป็นพิเศษ อีกทั้งหากเรามีความสามารถพิเศษในด้านภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถสื่อสารแบบสากลได้ หรือสามารถสื่อสารภาษาในประชาคมอาเซียนได้ และมีความรู้และความเข้าใจทางด้าน ICT อย่างดีเยี่ยม แล้วละก็การมีงานที่ดีทำนั้นไม่ยากหรอกครับ และ Read the rest of this entry

ห้องเรียนเครือข่ายไร้พรมแดน โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์